เมนู

ก็กล่าวว่า คนเหล่าใดในโลกนี้ ละเสียซึ่ง
รูปที่ได้เห็นแล้วก็ดี เสียงที่ได้ฟังแล้วก็ดี
อารมณ์ที่ได้ทราบแล้วก็ดี ละเสียแม้ซึ่งศีล
และพรตทั้งหมดก็ดี ละเสียซึ่งมงคลตื่นข่า
เป็นต้นเป็นอันมากทั้งหมดก็ดี กำหนดรู้
ตัณหาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ คนเหล่านั้น
ข้ามโอฆะได้แล้ว ฉะนี้แล.

จบนันทปัญหาที่ 7

อรรถกถานันทสูตร1ที่ 7


นันทสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า สนฺติ โลเก มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น พึงทราบความในคาถาที่หนึ่งดังต่อไปนี้ ชนทั้งหลาย
มีกษัตริย์เป็นต้น ย่อมกล่าวว่ามุนีมีอยู่ในโลก หมายถึงอาชีวกและนิครนถ์
เป็นต้น. บทว่า ตยิทํ กถํสุ ชนทั้งหลายกล่าวบุคคลว่าเป็นมุนีนั้นด้วยอาการ
อย่างไรหนอ คือ ชนทั้งหลายกล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยญาณ เพราะญาณมี
สมาปัตติญาณเป็นต้นเกิดขึ้น หรือผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่กล่าวคือความ
เป็นอยู่ที่เศร้าหมองมีประการต่าง ๆ ว่าเป็นมุนี.
1. บาลีเป็น นันทปัญหา.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงปฏิเสธแม้ทั้งสองอย่างแล้ว
ทรงแสดงผู้เป็นมุนีแก่นันทมาณพนั้นจึงตรัสคาถาว่า น ทิฏฺฐิยา ไม่กล่าวว่า
เป็นมุนีด้วยความเห็น ดังนี้เป็นต้น.
บัดนี้ นันทมาณพทูลถามว่า เย เกจิเม สมณพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งเป็นต้น เพื่อละความสงสัยของชนทั้งหลายผู้กล่าวว่า ความบริสุทธิ์
ย่อมมีด้วยความเห็นเป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรูเปน ได้แก่ด้วยมงคลตื่นข่าวเป็นต้น.
บทว่า ตตฺถ ยถา จรนฺตา สมณพราหมณ์ทั้งหลายประพฤติอยู่ในทิฏฐิของ
ตนนั้น ตามที่ตนเห็นว่าเป็นความบริสุทธิ์ คือ คุ้มครองอยู่ในทิฏฐิของตนนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความไม่มีความบริสุทธิ์
อย่างนั้น แก่นันทมาณพ จึงตรัสคาถาที่สอง.
นันทมาณพได้ฟังว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายข้ามพ้นไปไม่ได้แล้วดังนี้
ประสงค์จะฟังถึงผู้ที่ข้ามพ้นไปได้ จึงทูลถามว่า เยเกจิเม ดังนี้เป็นต้น. ลำดับ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงผู้ที่ข้ามพ้นชาติชราด้วยหัวข้อว่า
โอฆติณฺณ ข้ามพ้นโอฆะแก่นันทมาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่สอง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า นิวุฏา คือ อันชาติชราหุ้มห่อไว้ ร้อยรัดไว้.
บทว่า เยสีธา ตัดบทเป็น เยสุ อิธ. บทว่า สุ ในบทนี้เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า ตณฺหํ ปริญฺญาย กำหนดรู้ตัณหา คือกำหนดรู้ตัณหาด้วยปริญญา 3.
บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนก่อน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล ด้วย
ประการฉะนี้.

ฝ่ายนันทมาณพเมื่อจบเทศนา ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
กล่าวคาถาว่า เอตาภินนฺทามิ ข้าพระองค์ยินดียิ่งซึ่งพระดำรัสของพระองค์
ดังนี้เป็นต้น. แม้ในสูตรก็ได้มีผู้บรรลุธรรม เช่นกับที่ได้กล่าวแล้วในสูตร
ก่อนนั่นแล.
จบอรรถกถานันทสูตรที่ 7 แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา

เหมกปัญหาที่ 8


ว่าด้วยเรื่องกำจัดตัณหา


[432] เหมกมาณพทูลถามปัญหาว่า
(ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม)
อาจารย์เหล่าใดได้พยากรณ์ลัทธิของตนแก่
ข้าพระองค์ ในกาลก่อนว่า เหตุนี้ได้เป็นมา
แล้วอย่างนี้ ๆ จักเป็นอย่างนี้ ๆ คำพยากรณ์
ทั้งหมดของอาจารย์เหล่านั้น ไม่ประจักษ์
แก่ตน คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้น เป็นเครื่อง
ทำความตรึกให้ทวีมากขึ้น (ข้าพระองค์ไม่
ยินดีในคำพยากรณ์นั้น) ข้าแต่พระองค์ผู้
เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็น
เครื่องกำจัดตัณหา อันซ่านไปในอารมณ์
ต่าง ๆ ในโลกแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า
ดูก่อนเหมกะ ชนเหล่าใดได้รู้ทั่วถึง
บท คือ นิพพาน อันไม่แปรผัน เป็นที่บรรเทา
ฉันทราคะในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง และ
สิ่งที่ได้ทราบ อันน่ารัก ณ ที่นี้ เป็นผู้มีสติ